ISO 9000 คืออะไร
ISO (International Organization for Standardization) หรือองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสินค้าแทบจะทุกชนิด ส่วนระบบบริการงานคุณภาพ ISO 9000 คือมาตรฐานสากลที่วัดระดับคุณภาพองค์กรด้านการบริการงานคุณภาพและประกันคุณภาพสินค้า ISO 9000 คือการจัดการระบบบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
มาตราฐาน ISO 9000 มีกี่ประเภท
ระบบ ISO 9000 เป็นมาตรฐานเพื่อรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการขององค์กรให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า แบ่งเป็นสองส่วนคือการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ โดยมาตรฐาน ISO 9000 มีหลักการและประเภทดังนี้
หลักการของ มาตราฐาน ISO 9000
- ยึดปรัชญาป้องกันมากกว่าการสืบหาปัญหา
- ทบทวนจุดที่เป็นปัญหาสำคัญ ตรวจสอบผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
- ติดต่อสื่อสารภายในกระบวนการและระหว่างผู้ใช้มาตรฐาน รวมถึงผู้ป้อนวัตถุดิบและลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
- จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จัดทำเอกสารสำคัญให้มีประสิทธิภาพ
- สร้างความตระหนักเรื่องคุณภาพให้แก่พนักงาน
- ทำให้การจัดการมีความมั่นใจในระดับสูง
ประเภทของมาตราฐาน ISO 9000
เลข “9000” ในมาตรฐาน ISO 9000 เป็นรหัสของมาตรฐานชุดนี้ โดยประเภทของมาตรฐาน ISO 9000 แบ่งแยกย่อยได้อีก 5 ฉบับ คือ
- ISO 9000 ประกอบไปด้วยหลักพื้นฐานและคำศัพท์
- ISO 9001 เป็นข้อแนะนำการเลือกใช้
- ISO 9002 เป็นแนวทางทั่วไปในการเลือก และการประยุกต์ใช้มาตรฐานให้เหมาะสม
- ISO 9003 เป็นแนวทางในการนำ ISO 9001 ไปพัฒนาประยุกต์ใช้
- ISO 9004 เป็นข้อแนะนำสำหรับเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ
ระบบบริหารงานคุณภาพ iso 9000 มีลักษณะอย่างไร
ลักษณะของระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ประกอบไปด้วย
- เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพสินค้า โดยยึดหลักการคุณภาพที่มุ่งเน้นให้มีการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของสินค้าและบริหารให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างสม่ำเสมอ
- เป็นมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ได้กับกิจการทุกประเภท ไม่ว่าจะอุตสาหกรรม โรงงานผลิตคอลลาเจน พาณิชยกรรม ธุรกิจการบริหารทั้งขนาดเล็กและใหญ่
- ได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและสากล
- มาตรฐาน ISO 9000 เป็นระบบบริหารงานคุณภาพที่ควบคุมให้ทุกแผนกงานในองค์กรมีส่วนร่วม
- บริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตต่างๆ
- ให้ความสำคัญเรื่้องการจัดระเบียบเอกสารปฏิบัติงานให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ใช้เข้าถึงเอกสารและนำไปใช้งานได้สะดวก
- เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานอยู่เสมอ
- มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดให้มีการตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 3 เพื่อให้การรับรองให้ผ่านมาตรฐาน และมีการสุ่มตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อครบ 3 ปี จะตรวจประเมินใหม่อีกครั้งเสมือนขอการรับรองครั้งแรก
- เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ตามเงื่อมไขของ GATT
- เป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดต้องมีในระบบคุณภาพ
- รับรองคุณภาพขององค์กรทั้งหมด ไม่ได้แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง
- มาตรฐาน ISO 9000 ประเทศไทยรองรับให้เป็นมาตรฐาน มอก.9000
สัญลักษณ์ ISO
สัญลักษณ์ ISO จะเป็นตัวอักษร ISO ที่ย่อมากจาก “International Organization for Standardization” พื้นหลังตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ลูกโลก สำนักงานหลักของ ISO ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ มาเข้าร่วมกับผิดชอบจัดทำให้มาตรฐาน ISO มีความเป็นสากล จัดตั้งมาตรฐานให้องค์กรต่างๆ เช่น โรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก ปลอดภัยได้มาตรฐาน
6 ขั้นตอนในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ
ขั้นตอนสำหรับการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO มีดังนี้
- เตรียมการและศึกษา ศึกษาระบบคุณภาพต่างๆ ว่าควรนำระบบใดไปประยุกต์ใช้ในองค์กกร ควรปรึกษาบุคคลากรทุกระดับเพราะบุคคลากรทุกคนมีผลต่อความสำเร็จของ ISO 9000 โดยรวม
- การวางแผนด้านคุณภาพ โดยการกำหนดนโยบายคุณภาพที่สามารถนำไปปฏิบัติ ทำให้สำเร็จและประเมินค่าได้ จัดทำวัตถุประสงค์คุรภาพ กำหนดของเขต และจัดทำแผนการดำเนินงานที่แสดงถึงขั้นตอน ระยะเวลาทำงาน
- การจัดทำระบบเอกสารคุณภาพ ตามหัวข้อ ผังนโยบายคุณภาพ ผังโครงสร้างองค์กร กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบบ คู่มือคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติงาน รวมถึงตรวจสอบทบทวนเอกสารก่อนนำไปใช้
- การนำเอกสารออกใช้ เป็นการนำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ องค์กรจพต้องนำเอาเอกสารระบบบริหารคุณภาพที่ได้จัดทำขึ้นไปใช้จรองให้เกิดประสิทธิผล
- การตรวจประเมินคุณภาพภายใน คัดเลือกพนักงานเป็นทีมตรวจคุณภาพภายใน โดยคัดเลือกจากหลายหน่วยงานในองค์กร
รับการตรวจประเมินจากหน่วยงานรับรอง เมื่อองค์กรดำเนินการจัดระบบคุณภาพเรียนร้อยแล้ว สามารถขอการรับรองจาก หน่วยรับรอง (Certification Body) จากบริษัทรับรอง ISO 9000
ข้อกำหนดของ ISO 9000
มาตรฐาน ISO 9000 ได้ระบุข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข้อกำหนด ISO 9000 ประกอบไปด้วย
- ขอบข่าย
- เอกสารอ้างอิง
- นิยามและคำจำกัดความ
- ระบบบริหารคุณภาพ
- ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
- การจัดสรรทรัพยากร
- การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง
- การวัด การวิเคราะห์ และปรับปรุง
ประโยชน์ของการทำระบบ ISO 9000
ประโยชน์ของการทำระบบ ISO 9000 สำหรับองค์กร
- เกิดระบบการบริหารที่เป็นมาตรฐาน ลดข้อบกพร่อง ง่ายต่อการตรวจสอบและปรับปรุง เช่นเดียวกับมาตรฐาน GMP ฮาลาล
- เสมือนเครื่องมือกรองปัญหา แก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างตรงจุด ลดการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- มีมาตรฐานกำหนดไว้ในเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ง่ายต่อการเดินหน้าให้เป้าหมายสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เป็นเครื่องมือตรวจสอบภายในองค์กร
- คัดสรรแรงงานที่มีมาตรฐาน ลดจำนวนแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- ทำให้บุคคลากรทราบถึงเป้าหมายงาน เพิ่มกำลังใจโดยรวมในการทำงานขององค์กร
ประโยชน์ของการทำระบบ ISO 9000 สำหรับลูกค้านอกองค์กร
- เชื่อมั่นในบริษัทที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เชื่อใจให้ผลิตสินค้าสร้างแบรนด์ตัวเอง
- ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ
- ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน
- เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพอใจกับระบบการปฏิบัติงานขององค์กร
คำถามเกี่ยวกับ ISO 9000
มาตราฐาน ISO ที่สำคัญในไทย มีอะไรบ้าง
ตอบ: มาตรฐาน ISO ที่สำคัญในไทย ได้แก่
- มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ
- มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
- มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของ ห้องปฏิบัติการ
- มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
- มาตรฐาน ISO 13485 การจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์
ISO 9000 คือ หลักประกันที่บอกเราได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพจริงหรือไม่
ตอบ: มาตรฐาน ISO 9000 จะไม่รับประกันว่าผลิตภัณฑ์จะดีที่สุดหรือมีมาตรฐานที่สุด แต่เป็นการรับประกันว่าการบริหารงานขององค์กรมีคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งการที่องค์กรมีคุณภาพก็ส่งผลให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตาม