GMP (Good Manufacturing Practice) คือหลักเกณฑ์วิธีในการผลิตอาหารอย่างปลอดภัย นับเป็นมาตรฐานการผลิตที่เป็นระบบประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานก่อนที่จะต่อยอดไปสู่ระบบประกันคุณภาพในการผลิตอื่นๆ ข้อกำหนด GMP คือมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับโรงงานผลิตอาหารเสริม เพราะเป็นเครื่องรับประกันถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าต่างๆ
GMP คืออะไร
GMP (Good Manufacturing Practice) คือระบบการควบคุมความปลอดภัยของอาหาร เป็นการควบคุมให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยทุกขั้นตอน โดยควบคุมตั้งแต่ขั้นเริ่มการวางแผนการผลิต เลือกวัตถุดิบในการผลิต กรรมวิธีการผลิต ควบคุมคุณภาพ คุมที่ตั้งของโรงงานการผลิต บุคลากรภายในโรงงาน ไปจนถึงขั้นการขนส่งเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะปลอดภัยไม่ได้รับการปนเปื้อน
GMP คืออะไร ระบบ GMP คือมาตรฐานสากลที่ได้รับการรองรับทั่วโลก เป็นที่นำมาจากกฏหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาตามข้อกำหนด Code of Federal Regulation title เทียบเท่ากับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO (Codex) แต่โดยทั่วไปจะใช้คำว่า GMP เพราะเป็นตัวย่อที่สื่อความหมายเข้าใจตรงกันคือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
ประเภทของ GMP
สำหรับคำถามที่ว่า GMP มีกี่ประเภท มาตรฐาน GMP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP
หลักการ GMP สุขลักษณะทั่วไปเป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปใช้งานได้สำหรับอาหารทุกประเภท
2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP
สำหรับหลักการ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์เป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมจากหลักการ GMP สุขลักษณะทั่วไป โดยเพิ่มการเน้นเรื่องการดูแลความปลอดภัยและความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์เฉพาะแต่ละชนิดมากขึ้น
สำหรับในประเทศไทย ระบบ GMP เป็นที่รู้จักครั้งแรกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ในปี พ.ศ. 2529 และได้มีจัดทำโครงกายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ส่งให้สภาวิจัยเพื่อให้ความเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ GMP ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการให้ใบรับรอง GMP (Certificate GMP) แก่ผู้ประกอบการในลักษณะสมัครใจ ส่วนในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาระบุให้มาตรฐาน GMP บังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยปรับให้เข้ากับความพร้อมของผู้ประกอบการในประเทศไทย แต่ยังกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศอยู่
ข้อกำหนด GMP ทั่วไป (General GMP)
ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป ปัจจุบันครอบคลุมอาหาร 57 ประเภท มาตรฐาน GMP มีข้อกำหนด 6 ประการ ได้แก่
- สถานที่และอาคารผลิต
- เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- การสุขาภิบาล
- การบำรุงรักษาความสะอาด
- บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
ข้อกำหนด GMP ทั่วไปทั้ง 6 ประการ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตมีมาตรการในการผลิตอาหารให้ปลอดภัย ปราศจากอันตรายและการปนเปื้อนทั้งทางด้านชีวภาพ เคมีภาพ รวมถึงกายภาพ จากขั้นตอนการผลิต อุปกรณ์การผลิต สภานที่ในการผลิต เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของสิ่งอันตรายดังกล่าว
ข้อกำหนด GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP)
ข้อกําหนด GMP น้ําบริโภค (GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์)
- สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
- เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
- แหล่นำ
- การปรับคุณภาพน้ำ
- ภาชนะบรรจุ
- สารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
- การบรรจุ
- การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน
- การสุขาภิบาล
- บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
- บันทึกและรายงาน
นอกเหนือจากการคุบสุขลักษณ์ทั่วไป ข้อกำหนด GMP น้ำบริโภคเน้นถึงการควบคุมกระบวนการผลิตน้ำเพื่อบริโภค โดยเพิ่มเนื้อหาข้อ 3-8 อันเป็นขั้นตอนในการผลิตที่ป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มขั้นตอนการบันทึกและรายงานผลข้อมูล เช่น ผลวิเคราะห์แหล่งน้ำและผลิตภัณฑ์ บันทึกข้อมูลจะช่วยป้องกันหรือแก้ไขเมื่เกิดปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ข้อกําหนด GMP นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว
- สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
- เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ และการบำรุงรักษา
- การสุขาภิบาล
- สุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร
- บันทึกและรายงาน
ข้อกําหนด GMP นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์เป็นข้อกำหนด GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ เน้นการควบคุมการปนเปื้อนในการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ไม่ให้มีสารปนเปื้อนใดๆ รวมถึงมีขั้นตอนการบันทึกและรายงานผลข้อมูล
ประโยชน์ของ GMP
ประโยชน์ของมาตรฐาน GMP คือ
- เป็นมาตรฐานรับประกันว่าสินค้าปลอดภัย มีคุณภาพ
- ผู้บริโภคได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด คุณภาพสูง ไม่มีสิ่งปนเปื้อน
- ลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดหรือความเบี่ยงเบนของมาตรฐานผลิตภัณฑ์
- ป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการผลิต
- ควมคุมคุณภาพการผลิต
- ส่งผลต่อคุณภาพอาหารในระยะยาว
- ลดต้นทุนการผลิต
- มีความสะดวก ง่ายต่อการติดตามข้อมูล
- เพิ่มความตระหนักในการผลิตต่อพนักงาน
- เพิ่มแรงจูงใจของพนักงานในการมุ่งมั่นพัฒนาบริษัท
- สร้างทัศนคติที่ดีและถูกต้องในการปฏิบัติงาน
- ควบคุม รักษามาตรฐานความสะอาดของโรงงาน
- สร้างมาตรฐานกำหนด ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอในทุกล็อตการผลิต
- เพิ่มความคล่องตัวในการดูแล จัดการ ประเมินในโรงงาน
- มีการจัดเก็บเอกสาร รายงานบันทึกอย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน GMP แตกต่างจาก HACCP อย่างไร
มาตรฐาน GMP มาตรฐาน HACCP ฮาลาล เป็นมาตรฐานที่มักเห็นอยู่ด้วยกันตามโรงงานผลิตอาหารเสริม โรงงานผลิตคอลลาเจน ทั้งมาตรฐาน GMP และมาตรฐาน HACCP เป็นมาตรฐานที่มีมาเพื่อยกระดับคุณภาพโรงงาน เพื่อความปลอดภัยในการผลิต ให้ผู้บริโภคได้อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เป็นเหตุให้มาตรฐานเหล่านี้ทำให้โรงงานผลิตอาหารมีความน่าเชื่อถือสูง ข้อแตกต่างระหว่างมาตรฐาน GMP, HACCP คือ
มาตรฐาน GMP
มาตรฐาน GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice เป็นการผลิตอย่างปลอดภัย มาตรฐาน GMP ถือเป็นข้อบังคับตามกฏหมายที่โรงงานผลิตอาหารเสริมต่างๆ โรงงานผลิตอาหารเสริมไฟเบอร์ จำเป็นต้องมี มาตรฐาน GMP ควบคุมการทำงานกว้างกว่ามาตรฐาน HACCP โดย GMP จะดูแลความสะอาดครอบคลุมกว่า รวมถึงมีการแบ่งประเภทสนค้าในการบังคับใช้
มาตรฐาน HACCP
มาตรฐาน HACCP เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานเพื่อควบคุมความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อไม่ให้มีสารปนเปื้อนใดๆ ในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม มาตรฐาน HACCP ไม่ได้เป็นข้อบังคับใช้ตามกฎหมาย เป็นเพียงมาตรฐานเสริมที่สามารถเพิ่มความน่าเชื่อให้โรงงานผลิตอาหารเสริมรับสร้างแบรนด์ตัวเอง มาตรฐาน HACCP จะควบคุมการบวนการผลิตเป็นหลัก โดยจะป้องกันการปนเปื้อนทางชีวภาพ สารเคมี และทางกายภาพ
คำถามที่พบบ่อย
ทำไมโรงงานต้องมี GMP
ตอบ: เหตุผลที่โรงานต้องมีมาตรฐาน GMP เพราะหลักเกณฑ์ GMP เป็นข้อบังคบตามกฎหมายโดยกำนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา
โรงงานผลิตอาหารเสริม Medikalabs มีมาตราฐาน GMP ไหม
ตอบ: โรงงานผลิตอาหารเสริม Medika Labs เป็นโรงงานผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนักที่มีมาตรฐาน GMP รวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยสากลอื่นๆ เช่น HACCP, ฮาลาล, ASEAN GMP, ISO22000, FSSC22000 ในสร้างสร้างแบรนด์ตัวเอง ผลิตแบบ OEM