ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบตอกเม็ด (Tablet)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ รูปแบบยาอัดเม็ด (Tablet) เป็นหนึ่งในรูปแบบที่นิยมใช้มากในท้องตลาด เป็นรูปแบบที่ผู้บริโภคคุ้นเคย มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นทรงกลม, ทรงรี, ทรงเหลี่ยม อาจเคลือบหรือไม่เคลือบเม็ดก็ได้ และวันนี้เราจะพามารู้จักรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบตอกเม็ด รวมไปถึงข้อดีและข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบตอกเม็ด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบตอกเม็ด ผลิตโดยการอัดผงยาขึ้นรูปเป็นเม็ดแข็ง ด้วยเครื่องแรงอัดสูง ทำให้ตัวยาเกาะกันเป็นก้อนได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบตอกเม็ดมีลักษณะแข็งมากพอที่จะไม่เปราะแตกระหว่างการบรรจุและขนส่ง แต่ก็ละลายได้ง่ายเพื่อปลดปล่อยสารออกฤทธิ์และดูดซึมสู่กระแสเลือด ในผลิตภัณฑ์รูปแบบเม็ดนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก
- Active ingredients ที่เป็นส่วนของสารสำคัญ วิตามิน สารสกัด หรือตัวยาที่เป็นส่วนออกฤทธิ์
- Inactive ingredients หรือ Excipient เป็นส่วนสารปรุงแต่งยา เพื่อคงสภาพของสารออกฤทธิ์, เสริมประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ (Bioactivity), เป็นสารเติมเต็มในเม็ดยา เนื่องจากตัวยาที่ออกฤทธิ์อาจมีปริมาณน้อยในหน่วยมิลลิกรัมซึ่งขึ้นรูปได้ยาก, เป็นสารยึดเกาะ (binder) ให้สามารถอัดขึ้นรูปได้ง่ายและเสริมความแข็งแรง ไม่เปราะแตกระหว่างการขนส่ง, ต้านการ Oxidation ของตัวยา และช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม
เมื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบเม็ดเข้าสู่ร่างกายโดยการกลืนแล้ว เม็ดยาจะแตกออกเป็นเศษยาเม็ดขนาดใหญ่ (Large fragments) และค่อยๆมีขนาดเล็กลง (small fragments) จากนั้นเม็ดยาจะละลายกับของเหลวในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal fluid) และดูดซึม (absorption) เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์เชิงชีวภาพต่อไป
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบอัดเม็ดมีจุดเด่นหลายประการ เช่น ต้นทุนการผลิตไม่สูง, สามารถใช้ปริมาณ active ingredient ได้มาก, มีประสิทธิภาพในการนำส่งตัวยาดี, ตัวยาสามารถย่อยละลายได้ง่ายในกระเพาะอาหาร, ออกฤทธิ์เร็ว, สามารถออกแบบขนาดรูปทรง/สี/การเคลือบเม็ดได้/ มีอายุการเก็บนาน, ผู้บริโภคคุ้นเคยและปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ชอบทานยาเม็ดขนาดใหญ่หรือต้องการแบ่งทานอาหารเสริมทีละครึ่ง ก็สามารถทำได้โดยการหักเม็ดยา (เช่น เม็ดยาทรงเรียวคล้ายแคปซูลที่มีรอยบากบริเวณกึ่งกลางเม็ดยา) โดยยังคงประสิทธิภาพของตัวยาได้หากเก็บในสภาวะที่เหมาะสม และในแง่การทดสอบความเสถียรและการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพผลิตภัณฑ์ก็สามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยเฉพาะด้านสี, การเปราะแตกของเม็ดยาเมื่อทดสอบในบรรจุภัณฑ์
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบยาเม็ดก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เช่น ขนาดเม็ดยาขนาดใหญ่ ซึ่งอาจยากต่อการรับประทานสำหรับบางคน ที่อาจสำลักหรือติดคอได้, อาจมีรสขมเมื่อเม็ดยาละลายเมื่อวางบนลิ้น และในแง่ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สารออกฤทธิ์ที่ไวต่อการ oxidation จากความชื้นและออกซิเจนอาจเสื่อมสลายฤทธิ์ลงเนื่องจากความชื้นและออกซิเจนในกระบวนการผลิต
ผู้ผลิตสามารถปรับรูปแบบเม็ดยาได้ตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ เช่น
- การเคลือบเม็ดยาด้วยสารจำเพาะเพื่อป้องกันเม็ดยาละลายในกระเพาะอาหาร แต่จะให้ไปละลายและออกฤทธิ์บริเวณลำไส้เล็กแทน
- การทำผิวแคปซูลให้เรียบเนียน เพื่อให้ลื่น ง่ายต่อการกลืน
- ออกแบบเป็นลักษณะ caplets ซึ่งเป็นเม็ดยารูปทรงแคปซูล ปลายเรียว และเคลือบผิวหน้าให้เรียบลื่น กลืนง่าย ไม่ติดคอ ยาเม็ดรูปแบบ caplets จะแตกตัวและดูดซึมได้รวดเร็วกว่า แต่การผลิตจะยุ่งยากกว่า ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น
- ออกแบบเป็นยาเม็ดแตกตัวในปาก (orally dissolving tablets (ODT)) เพื่อให้มีการแตกตัวหรือละลายอย่างรวดเร็วภายในช่องปากเมื่อวางบนลิ้น โดยไม่ทิ้งรสขม เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบทายาเม็ดใหญ่ หรือผู้ที่มีปัญหาการกลืน เช่น ผู้สูงอายุและเด็ก และยาเม็ดรูปแบบนี้จะออกฤทธิ์รวดเร็วกว่าปกติ จึงต้องกำหนดขนาดสารออกฤทธิ์ให้ดี และยังมีราคาแพงกว่ายาอัดเม็ดรูปแบบทั่วไปอีกด้วย
- การบรรจุสารออกฤทธิ์ได้มาก ก็มีข้อจำกัดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ต้องใช้โดสมากต่อการทานแต่ละครั้ง เช่น คอลลาเจน และไฟเบอร์ ซึ่งอาจเหมาะกับแบบผงมากกว่า
จะเห็นได้ว่าการเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะต้องพิจารณาหลายประการ MEDIKA LABS (บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด) โรงงานผลิตอาหารเสริม และเครื่องสำอางผู้รับผลิตสร้างแบรนด์ระดับพรีเมียม พร้อมให้คำแนะนำทุกขั้นตอนด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุดของผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้าปลายทาง
เพราะเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ธุรกิจให้กับคุณ สนใจสร้างแบรนด์
ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย !! ติดต่อสอบถามเราได้เลย ที่
Tel : 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469
FACEBOOK | อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ : https://www.facebook.com/medikalabs
LINE OA | Add พูดคุย-สั่งผลิต : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo
GET A QUOTE | ขอใบเสนอราคาผลิต : คลิก > https://bit.ly/3zjFpfy
อ้างอิง
Melia, C. D., & Davis, S. S. (1989). Review article: mechanisms of drug release from tablets and capsules. I: Disintegration. Alimentary pharmacology & therapeutics, 3(3), 223–232. https://doi.org/10.1111/j.1365-2036.1989.tb00208.x
ดร.พจมาลย์ บุญญถาวร.(2018) Drugs-Excipients Interaction สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. จาก https://www2.gpo.or.th/Portals/6/Newsletter/RDINewsYr23No3-2.pdf
เทคโนโลยีเภสัชกรรม. (2018) บทความเผยแพร่ความรู้สำหรับประชาชน เรื่อง ยาเม็ดแตกตัวในปาก (Orodispersible tablet). สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. จาก https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/orodispersible%20tablet.pdf
SMP Nutra. (2020) Capsule vs. Tablet: Which Is Better? สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. จากhttps://smpnutra.com/capsule-vs-tablet-which-is-better