เจาะลึกส่วนผสมกลุ่มเครื่องดื่มผสม วิตามิน
บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้กล่าวไว้ว่าในปี 2563 และ 2564 ตลาดเครื่องดื่มผสม วิตามิน และน้ำดื่มผสมวิตามินเป็น segment ใหม่มีเจริญเติบโตสูงขึ้นถึง 106% ในปี 2563 และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอีกในปี 2564 นี้ ในขณะที่ตลาดน้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟพร้อมดื่ม ชาพร้อมดื่ม โซดาและเครื่องดื่มเกลือแร่ เจริญเติบโตน้อยลงหรือติดลบเลยทีเดียว
ความนิยมในเครื่องดื่มผสม Vitamin คาดว่าเกิดขึ้นจากความตื่นตัวในการดูแลตัวเองและต้องการเสริมภูมิคุ้มกันจากโรคภัยและจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมือง และในมุมของผู้ประกอบการ เครื่องดื่มผสม Vitamin นี้ยังเป็นเป็นการปรับตัวให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่คุมเข้มสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่ม, ภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และได้พื้นที่จากการเจาะตลอดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในภาพลักษณ์ที่แตกต่างจากเดิม
หากพิจารณาในด้านส่วนผสมของเครื่องดื่ม Vitamin แล้ว นอกจาก Vitamin ที่เป็นตัวชูโรงเครื่องดื่มผสมวิตามิน ยังเป็นสารสกัดอื่นๆเป็นจุดขายอีกด้วย วันนี้เราจึงจะมารีวิวส่วนผสมในเครื่องดื่มผสม Vitamin กันค่ะ
- Vitamin : เป็นส่วนผสมตัวเด่นสำหรับเครื่องดื่มผสม Vitamin โดยในตลาดปัจจุบันจะเน้นที่ Vitamin C ด้วยเหตุผลด้านประโยชน์ต่อสุขภาพ เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงผิว และยังเป็น vitamin ที่ผู้บริโภคส่วนมากรู้จักคุณประโยชน์อยู่แล้ว จึงเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย โดยหลายๆแบรนด์จะใส่ vitamin C มากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) โดยจะใส่ที่ 200% เพื่อให้ยังมีปริมาณ vitamin C ในผลิตภัณฑ์สูงตามฉลาก เนื่องจาก vitamin C สลายตัวง่าย และอาจโฆษณาในรูปแบบการเปรียบเทียบปริมาณVitamin C กับผลไม้ เช่น มีVitamin C มากกว่ามะนาว 6 ผล
นอกจาก vitamin C แล้ว ยังมีเสริมด้วย vitamin อื่นๆ เช่น vitamin A, vitamin B รวม, vitamin D, vitamin E หรือแร่ธาตุ เช่น Zinc เพื่อประโยชน์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่กว้างขึ้น เช่น บำรุงสายตา บำรุงความจำ บำรุงสมอง เป็นต้น การเติมVitaminลงในเครื่องดื่มจะต้องคำนึงถึงการสลายตัวเนื่องจากปัจจัยภายนอก เช่น ความร้อน, แสง, อุณหภูมิ ดังนั้นอาจเลือกใช้Vitaminในรูปแบบที่เสถียรหรือใช้บรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันแสงได้
- สารสกัดธรรมชาติ : ผู้ผลิตอาจเสริมสารสกัดต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เครื่องดื่มจากเดิมที่ผสมเพียงVitaminเท่านั้น เช่น ผสมคอลลาเจนเพื่อประโยชน์ด้านผิวพรรณ, สารสกัดเคอร์คิวมินจากขมิ้นชัน เพื่อล้างพิษและปกป้องตับ, สารสกัดสารสกัดจากโรสฮิป (ผลกุหลาบป่า) ที่มีปริมาณVitaminซีสูงและสารต้านอนุมูอิสระ หรือ L- carnitine เป็นต้น
- Fiber หรือใยอาหาร : เพื่อเสริมกระตุ้นระบบขับถ่าย โดยไฟเบอร์ในเครื่องดื่มจะต้องอยู่ในรูปของใยอาหารละลายน้ำได้ หรือ Soluble fiber เช่น Inulin, Polydextrose, Resistant Dextrin, Fructo-oligosaccharide, Xylo-oligosaccharide (XOS) หรือ Citrus fiber เป็นต้น และไฟเบอร์จะต้องไม่รบกวนกลิ่นและรสชาติหลักของเครื่องดื่มมากนัก
- สารให้ความหวานแทนน้ำตาล : เครื่องดื่มผสมVitamin ส่วนมากจะเคลมด้านน้ำตาลต่ำ (Low sugar) เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ และในมุมของผู้ประกอบการก็จะได้ประโยชน์ด้านภาษีความหวานในเครื่องดื่มอีกด้วย โดยการลดน้ำตาลทราย จะสามารถทดแทนรสชาติหวานได้โดยสารให้ความหวาน (Sweetener) เช่น Acesulfame K, Erythritol, Sucralose, Aspartame, หรืออาจผสมระหว่างสารให้ความหวาน 2 ชนิดเพื่อรสชาติหวานที่คล้ายน้ำตาลทรายมากที่สุด
- เบสน้ำผลไม้ : การผสมVitamin, เกลือแร่, สารสกัดต่างๆ, ไฟเบอร์ ลงในเครื่องดื่ม จะต้องพิจารณาด้านความเข้ากันได้ของรสชาติ โดยทั่วไปน้ำองุ่นขาวจะได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นเบสน้ำผลไม้ที่มีรสชาติอ่อน ไม่มีสี เข้ากันได้กับส่วนผสมอื่นๆ นอกจากนี้น้ำส้ม, น้ำเลมอน, น้ำเบอร์รี่รวม ที่รสชาติเปรี้ยวอมหวานก็สามารถเข้ากับรสชาติเปรี้ยวจากวิตามินซีได้ดีเช่นกัน
นอกจากVitamin, ส่วนผสมและน้ำผลไม้ที่หลากหลายแล้ว รูปแบบของเครื่องดื่มอาจไม่ได้อยู่ในรูปน้ำผลไม้บรรจุขวดอย่างเดียว อาจอยู่ในรูปของวุ้นเพื่อเพิ่มความหลากหลายด้านเนื้อสัมผัสได้ เช่น การเติมคาราจีแนน (Carrageenan) หรือบุก (Konjac)
การผลิตเครื่องดื่มผสม วิตามิน
ต้องเลือกโรงงานผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการผลิต เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีต้องใส่ใจด้านความเสถียรของVitamin การเลือกเกรดส่วนผสม, กระบวนการผลิตที่เหมาะสม และการเลือกขวดบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ให้คงคุณภาพที่ดีที่สุดเมื่อถึงมือผู้บริโภค
เพราะเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ธุรกิจให้กับคุณ สนใจสร้างแบรนด์
ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย !! ติดต่อสอบถามเราได้เลย ที่
📱: 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469
🖥 : https://medikanutritional.com
Facebook : https://www.facebook.com/medikalabs
Line OA : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo
อ้างอิง
Barclay, D. (2021). Multiple fortification of beverages. Retrieved 8 August 2021, from https://archive.unu.edu/unupress/food/V192e/ch13.htm
Efimtseva, E., & Chelpanova, T. (2020). Apples as a Source of Soluble and Insoluble Dietary Fibers: Effect of Dietary Fibers on Appetite. Human Physiology, 46(2), 224-234.
น้ำ Vitamin ยังมาวิน คาดปี 64 ตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์โต 1.99 แสนล้าน (คลิป). (2021). Retrieved 8 August 2021, from https://www.thairath.co.th/business/market/2021545
รีวิว 10 อันดับเครื่องดื่ม Vitamin C 200% ดีจริงหรือ ยี่ห้อไหนอร่อย ?. (2020). Retrieved 8 August 2021, from https://medthai.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5-200/