สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารเสริมฟื้นฟูการนอนหลับ และ คลายวิตกกังวล
อาหารเสริมฟื้นฟูการนอนหลับ และ คลายวิตกกังวล อาการนอนไม่หลับ (Insomia) เป็นภาวะที่นอนหลับยากหรือใช้เวลานานกว่าจะหลับ รวมถึงหากตื่นกลางดึกก็ใช้เวลานานกว่าจะหลับอีกรอบ ซึ่งเป็นอาการที่พบมากในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีผู้คนกว่า 10 -48 % เคยประสบกับอาการนอนไม่หลับระยะสั้น (short-term) และอีก 10% มีปัญหานี้ในระยะยาว (long-term) ซึ่งเป็นปัญหาส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ตื่นมาแล้วไม่สดใส เหนื่อย ล้า คุณภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตลดลง
ภาวะนอนไม่หลับนี้มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยเฉพาะความเครียดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้สมองทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากการทำงาน การเรียน ครอบครัว หรือความสัมพันธ์อื่นๆ แต่นอกจากนี้อาการนอนไม่หลับก็สามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆอีก เช่น อาการJet lag การเปลี่ยน Time zone เนื่องจากการเดินไปทำงานหรือเที่ยวต่างประเทศ, การงีบระหว่างวันหรือการทำกิจกรรมก่อนนอน ทำให้รบกวนการนอนหลับ, การกินมากเกินไปในมื้อเย็น, ภาวะจิตใจที่เปลี่ยนแปลง (mental health), ผลข้างเคียงของการทานยาบางชนิด, การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน-แอลกอฮอล์ก็ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะนอนไม่หลับได้
จากการศึกษาพบว่าอาการนอนไม่หลับมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงกว่าผู้ชาย เนื่องจากระบบฮอร์โมนเพศของผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการเหงื่อออกตอนนอน ร้อนๆหนาวๆ รบกวนการนอน และในผู้สูงอายุวัยมากว่า 60 ปีก็มีแนวโน้มพบอาการนอนไม่หลับจำนวนมากเช่นกัน ส่วนอีกกลุ่มคือผู้ที่ทำงานเป็นกะ ไม่มีตารางการทำงานที่แน่นอน ซึ่งอาการนอนไม่หลับนี้สามารถฟื้นฟูได้โดยการทำตัวให้ Active ในเวลากลางวัน, ไม่งีบหลับในเวลากลางวัน, จำกัดการทานคาเฟอีน, ไม่ทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอนและทำห้องนอนให้สบาย เหมาะกับการพักผ่อน
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดและสารอาหารช่วยฟื้นฟูและบรรเทาอาการนอนไม่หลับลงได้ โดยสารอาหารที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฟื้นฟูการนอนหลับ และคลายวิตกกังวล มีตัวอย่าง เช่น
- Melatonin : เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเพื่อส่งสัญญาณควบคุมการนอนหลับและเป็นนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย จึงเป็นที่มาให้นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยการนอนหลับ โดยปกติร่างกายจะผลิตเมลาโทนินมากในช่วงเย็น-กลางคืน และลดต่ำลงในช่วงกลางวัน ผลการศึกษาพบว่าการทานเมลาโทนินช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนและช่วยให้นอนหลับได้ยาวขึ้น, ช่วยลดอาการหลับใน รวมถึงช่วยลด sleep latency (ระยะเวลาตั้งแต่ดับไฟจนถึงระยะการนอน) โดยทั่วไปจะทานเมลาโทนินปริมาณ 3 – 10 มิลลิกรัมก่อนนอน
- Valerian Root : เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์คลายเครียด, ลดอาการวิตกกังวล, มีสรรพคุณคล้ายยานอนหลับ ในการวิจัยพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ทานรากวาเลอเรี่ยนจะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนและลดอาการนอนไม่หลับลงได้ ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะใช้รากวาเลอเรี่ยนปริมาณ 300 – 450 มิลลิกรัม ทาน 1 ชั่วโมงก่อนนอน
- GABA : หรือ gamma aminobutyric acid เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น นอนหลับได้ดี มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้การทานแม็กนีเซียมร่วมด้วยก็ช่วยให้ระดับ GABA เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
- CBD oil : หรือ Cannabidiol oil เป็นสารประกอบที่พบในกัญชงและกัญชา การใช้สารสกัด CBD oil ปริมาณเพียงเล็กน้อยสามารถช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันอย.ไทยได้อนุญาตให้ใช้ CBD oil ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามปริมาณที่กำหนด
- Glycine : เป็นกรดอะมิโนที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ผลการศึกษาพบว่า glycineว่าช่วยให้การนอนมีคุณภาพมากขึ้น การทดสอบให้ผู้ที่นอนหลับไม่สนิททาน glycine ปริมาณ 3 กรัมก่อนนอน พบว่าหลังจากทานแล้วรู้สึกว่าเมื่อตื่นสมองปลอดโปร่งมากขึ้น สดชื่นขึ้น
- Ashwagandha root หรือโสมอินเดีย ช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ภาวะวิตกกังวล ปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้น ต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นอีกด้วย
อาหารเสริมฟื้นฟูการนอนหลับ และ คลายวิตกกังวล
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฟื้นฟูการนอนหลับ และคลายวิตกกังวล เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นที่ต้องการในท้องตลาดโดยเฉพาะคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของตัวเองสามารถปรึกษาทีม MEDIKA LABS (บริษัท เมดิก้า แล็บส์ จำกัด) ที่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน พร้อมให้สินค้าของท่านออกสู่ท้องตลาดด้วยคุณภาพและความมั่นใจสูงสุด
ดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้เลยว่า Medikalabs จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในวงการธุรกิจได้อย่างแน่นอน!
ติดต่อสอบถามรายละเอียดฟรี ไม่มีค่าใช้ได้ที่…
Tel : 083-5662892 | 082-4622289 | 02-6863469
FACEBOOK | อัพเดทเทรนด์ธุรกิจ : https://www.facebook.com/medikalabs
LINE OA | Add พูดคุย-สั่งผลิต : คลิก > https://lin.ee/21n2Eoo
GET A QUOTE | ขอใบเสนอราคาผลิต : คลิก > https://bit.ly/3zjFpfy
Website : https://medikanutritional.com
อ้างอิง
INAGAWA, K., HIRAOKA, T., KOHDA, T., YAMADERA, W., & TAKAHASHI, M. (2006). Subjective effects of glycine ingestion before bedtime on sleep quality. Sleep And Biological Rhythms, 4(1), 75-77. doi: 10.1111/j.1479-8425.2006.00193.x
Insomnia – Symptoms and causes. (2016). Retrieved 6 September 2021, from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167
Insomnia Facts & Statistics | The Recovery Village Drug and Alcohol Rehab. (2021). Retrieved 6 September 2021, from https://www.therecoveryvillage.com/mental-health/insomnia/insomnia-statistics/
Paparrigopoulos, T., Tzavara, C., Theleritis, C., Psarros, C., Soldatos, C., & Tountas, Y. (2010). Insomnia and its correlates in a representative sample of the Greek population. BMC Public Health, 10(1). doi: 10.1186/1471-2458-10-531
Ratini, M. (2021). Natural Sleep Remedies. Retrieved 6 September 2021, from https://www.webmd.com/sleep-disorders/ss/slideshow-natural-sleep-remedies